โบราณสถานเมืองเพนียด จันทบุรี

0
7504

โบราณสถานเมืองเพนียด จันทบุรี
    กำแพงก่อด้วยศิลาแลงและกลุ่มโบราณสถานบริเวณใกล้เคียง

ลักษณะ
เป็นส่วนประกอบของอาคารก่อด้วยศิลาแลง ขนาดประมาณ 40 x 70 เมตรหนาราว10-11เมตร สูงประมาณ 1.70 -4.00เมตร ภายในเป็นพื้นที่โล่งมีบันไดทางขึ้นหลักอยู่ทางด้านเหนือและบันไดทางลงภายในตัวโบราณสถานอยู่ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออก พื้นบนของผนังอาคารด้านทิศเหนือมีศิลาแลงปูจะมีความสูงประมาณ1.70 เมตร ส่วนพื้นบนของผนังอาคารด้านทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีศิลาปลงปูสูงราว 2.30 เมตรและมีบันไดทางขึ้นไต่ระดับไปสู่ผนังอาคารด้านทิศใต้ซึ่งสูงราว 4 เมตร


ความสำคัญ
โบราณสถานแห่งนี้เดิมชื่อว่า พะเนียด เนื่องจากชาวบ้านเข้าใจว่าคือ พะเนียดคล้องช้าง ต่อมาพ.ศ.2533 อาจารย์อุไรวรรณ วัฒนวิระกุล สำรวจศึกษาทำวิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาแหล่งโบราณคดีวัดทองทั่วและบริเวณใกล้เคียง ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อทำการศึกษาแล้ว ได้ให้ข้อสันนิฐานว่า โบราณสถานเพนียตน่าจะเป็น “นาราย” หรือ “สระน้ำ” ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ได้มีการขุดตรวจสอบ และปีพ.ศ. 2544-2545 ได้มีการขุดแต่ง โดยใช้เงินกองทุนเพื่อสังคมธนาคารออมสิน(SLF)พบว่าขอบอาคารมีความสูงไม่เท่ากันโดยมีทางขึ้นอยู่ที่กึ่งกลางฐานด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นด้านที่มีระดับต่ำที่สุดราว 1.70 เมตรเศษและมีทางลงสระทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ซึ่งมีพื้นที่สูงราว2.30เมตรส่วนทางด้านทิศใต้เป็นด้านที่สูงที่สุด โดยมีพื้นที่บนของขอบอาคารสูงจากผิวดินราว 4 เมตรเดิมมีหลังคามุงกระเบื้องแบบกาบกล้วย จากการขุดตรวจเพื่อดูการทับถมของดินพบว่ามีเศษศิลาแลงที่ได้จากการสกัดตกแต่งอยู่ใกล้ขอบด้านในเป็นจำนวนมาก พื้นที่ส่วนกลางของโบราณสถานแก่งนี้มีลักษณะเป็นสี่เหลียมผืนผ้าขนาดประมาณ 8 x 23 เมตรมีร่องรอยการแช่ขังของน้ำ

ห่างจากตัวโบราณสถานแห่งนี้ไปทางทิศใต้เป็นระยะทางประมาณ 40 เมตร ยังมีอาคารลักษณะเดียวกันอยู่ในสวนมังคุดอีกแห่งหนึ่งระหว่างอาคารทั้งสองไปทางทิศตะวันตก อีกราว 60 เมตร ยังมีกลุ่มโบราณอีกแห่ง อยู่ในบริเวณบ้านของนางผาด เจริญนิยม ลักษณะเป็นคันดินแนวศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ 40 เมตร ตรงหลางมีเนินดินปกคลุมแนวศิลาแลงซึ่งสูงเพียงระดับผิดดิน

ลักษณะอาคารทั้งสามหลังดังกล่าวเข้าข่ายอาคารแบบ ปราสาท ในศิลปะขอม ซึ่งประกอบไปด้วยตัวอาคารขนาดเล็กที่ใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพล้อมรอบด้วยระเบียงคตหรือกำแพงแก้ว ห่างออกไปทางทิศตะวันออกจะมีบารายหรือสระน้ำ ซึ่งตามปกติจะเรียกว่า บาราย แต่เมื่อพิจารณาหลักฐานที่พบแล้วเชื่อว่ามีความแตกต่างจากบารายทั่วใบเนื่องจากบริเวณขอบของอาคารซึ่งหนาราว 12 เมตร น่าจะมีหลังคามุ่งซึ่ง สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การกำหนดอายุของอาคารหลังนี้ ในเบื้องต้นดูจากเศษภาชนะดินเผา ลักษณะคล้ายภาชนะจากแหล่งเตาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งพบจากการชุดตรวจยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าสร้าง
ขึ้นเมื่อไดแต่มีการใช้ต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 15-17 (ราว พ.ศ. 1400-1800)

การขึ้นทะเบียน
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478 อนึ่งในช่วงก่อนหน้านี้ราว พุทธศตวรรษที่ 14 เกิดมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 2( พ.ศ. 1345-1393)เสด็จมาจากชวา เข้ามากอบกู้เอกราชจากบรรพบุรุษของพระองค์ ผู้รู้กล่าวว่าทรงเป็นทายาทของ เจนละ ซึ่งอพยพไปเป็นตัวจำนำอยู่ในเกาะชวาทรงรวมอาณาจักรขอมโบราณ 2 แห่งที่เรียกว่า อาณาจักรเจนละบกและ เจนละน้ำ เข้าด้วยกันเรียกว่า อาณาจักรกัมพูชา สันนิษฐานว่าอำนาจเดิมอาณาจักรเจนละคงเหลืออยู่บ้าง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมือง ทรงย้ายเมือง หลวง 4 ครั้ง ทรงสถาปนา ลัทธิเคารพบูชาเทวราช อันเป็นการยกย่องพระเจ้าแผ่นดินเสมอเทวดาเมื่อสิ้นพระชนม์จะเสด็จไปยัง สวรรค์รวมกับเทวดาที่ทรงปรารถนาไว้ลัทธิการเคารพบูชาเทวราชนี้ ได้มีการปฎิบัติสือเนื่องต่อมา โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 ซึ่งมีการเขียนจารึกเพนียต 1 กษัตริย์ที่สำคัญองค์หนึงคือ พระเจ้ายโสวรมันที่ 1 ( พ.ศ. 1432-1443) ผู้สถาปนาเมืองพระนครเมืองแรก คือเมืองโสธรปุระมีศูนย์กลางอยู่ที่เขาพนมบาแคง ตามคำแนะนำของพระอาจารย์พระอัญวามะศิวะโดยย้ายจากเมืองหริหราลัย ซึงเป็นกลุ่มที่ไม่สามารถรับความเจริญของเมืองได้ โดยย้ายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือริมทะเลสาปใหญ่ สูงกว่าเมืองหริหราลัย 28 เมตร ห่างจากชายฝั่งทะเลสาปราว 7 กม. (เดิมอาจใกล้กว่านี้) เมื่อขึ้นครองราชย์พระองค์ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นทำให้สามารถรวบรวมนักรบ นักปกครองและช่างได้เป็นจำนวนมากประกอบกับอยู่ไม่ไกลจากทะเลสาบเขมรอันอุดมสมบูรณ์ มีผู้วิเคราะห์ว่าสื่งเหล่านี้เป็นปัจจัยให้คนรุ่นหลังมีทรัพยากรเพียงพอที่จะสร้างสรรงาน สถาปัตยกรรมอันมีชื่อเสียงไปทั่วโลกในยุคต่อมาจารึกซึ่งพบที่โบราณสถานเพนียตนี้มีลักษณะการจารึกและข้อความเหมือนกับจารึกอื่นอีก 11 หลัก ซึ่งพบที่เมืองพระตะบองเสียมราฐ นครจำปาศักดิ์ ตะโบงฆมุม บาพนม บันทายมาส และมาสักเนื้อหาเป็นเรื่องการจัดระเบียบ พระองค์ไม่เพียงสร้างมหานครอันยิ่งใหญ่ไว้เป็นรากฐานแสดงถึงพระราชอำนาจของพระองค์เท่านั้น เม้ในการจัดระบบสังคมพระองค์สร้างวินัยให้ประชาชนปฎิบัติโดยออกระเบียบต่างๆไว้มากมายมีกำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนให้ประชาชน นักพรต นักบวชปฎิบัติอย่างเคร่งครัด       ศาสตราจารย์ ต้วน ลี่ เซิง จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เมื่อครั้งมาปฎิบัติงานที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติชี้ว่า เมืองเพนียตในสมัยนั้น ได้รับอิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ จีนเรียกว่า เจิง ลี ฟู อนึ่ง โบราณสถานเพนียตแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของศาสนสถานประเภทเทวสถาน ซึ่งนับถือพระศิวะหรือพระวิษณุดังปรากฎในจารึก มีที่ตั้งอยู่ในเมืองเพนียตหรือเมืองกาไวซึ่งแต่เดิมมีแนวกำแพงเมืองกว้างราว 1 ก.ม.ยาวราว 2.5 ก.ม. จัดว่าเป็นเมืองโบราณที่มีรูปแบบคล้ายเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมขอมยุคโบราณ

ประวิติการอนุรักษ์
ประมาณ พ.ศ.2436-2466 สำนักฝรั่งเศศแห่งปลายบูรพาได้มาสำรวจและทำแแผนผังเมืองกาไว(เมืองเพนียต)
ในช่วงเวลาเดียวกันเริ่มมีการก่อสร้างโบสถ์วัดคาทอลิคของจังหวัดจันทบุรี มีผู้นำว่าจ้างชาวบ้านใช้เกวียนขนศิลาแลงจากโบราณสถานเพนียตเพื่อไปสร้างวัด
พ.ศ. 2478 กรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนโบราณสถานเพนียตไว้เป็นโบราณสถานสำหรับชาติ
พ.ศ. 2510 จ่าสิบเอกฉันท์ วรรณเจริญ ทหารเสนารักษ์นิมนต์พระธุดงค์มาทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาโรค มีการทำบุญประจำปีได้ราว 2 ปี มีคนมาร่วมมาก
แต่ภายหลังต้องหยุดไป เพราะมีการชวนกันนั้งทางใน เพื่อขุดสมบัติแม่ย่ากาไว ระหว่างปี พ.ศ. 2510-2530 มีการขนศิลาแลงไปเพื่อใช้ในการสร้างโบสถ์และลานหน้าโบสถ์วัดทองทั่วซึ่งอยู่ใกล้เคียง
พ.ศ. 2533 อาจารย์อุไรวรร วัดนวิระกุล สำรวจศึกษาทำวิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาแหล่งโบราณคดีวัดทองทั่วและบริเวณใหล้เคียงตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ทำการศึกษาและให้ข้อสันนิษฐานว่า โบราณสถานเพนียตน่าจะเป็น ” บาราย” หรือ สระน้ำ
พ.ศ.2536 เจ้าหน้าที่มาดูเสินทางและสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมเส้นทางรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯเมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดจันทบุรี แต่ต้องยกเลิกไปเพราะทางเข้าไม่สะดวก
พ.ศ. 2541 คณะทำงานฟื้นฟูเมืองเพนียตโดยท่านพ่อเขียน เจ้าอาวาสวัดกะทิง เจ้าคณะอำเภอมะขาม คณะกรรมการสุจาภิบาลพลับพลานารายณ์ โดยการนำของนาย บุญเหลือ วุฒิ ผู้ใหญ่ธงชัย ศิลสังวรณ์ นายธรรม พันธุศิริสด
อาจารย์มนตรี พงษ์เจริญและชาวบ้านใกล้เคียงได้จัดกิจกรรม เพื่ออนุรักษ์เมืองเพนียตหลายอย่างเช่นขอบริจาคที่ดินจาก นางประโยชน์ รัตนเกื้อกูลวงศ์ นางบานเช้า ฉิมแช่ม นางผิน ชินรส เจ้าของที่ดินเพื่อทำทางเข้าโบราณสถาน
จัดนิทรรศการถาวร เรื่องเมืองเพนียตที่โรงเรียนวัดทองทั่วและบริเวฯโบราณสถาน ทำตวามสะอาดโบราณสถานอย่างต่อเนื่องให้ความรู้แก่คนท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่มัคคุเทศน์จำลองทับหลังแบบถาลาบริวัตร ซึ่งพบบริเวณเมืองเพนียตมาตั้งแสดง เมื่อดูจากสมุดเยี่ยมชมเป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ชมส่วนใหญ่ยังมีจ้อสงสัยว่าโบราณสถานแห่งนี้คืออะไรกันแน่และไม่เชื่อว่าเป็นพะเนียดคล้องช้าง ส่วนกลุ่มที่ไม่เชื่อว่าเป็นนารายเรือสระน้ำนั้นมีเหตุผลว่า บริเวณขอบสระอยู่สูงจากระดับน้ำปกติมาก ประกอบกับเนื้อศิลาแลงมีความพรุน ไม่น่าจะใช้เพื่อประโยชน์ในการกักเก็บน้ำ หลายคนต้องการให้มีการขุดตรวจสอบ
พ.ศ. 2542 เดือนมกราคม คณะทำงานฟื้นฟูเมืองเพนียตมีหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากรขอให้มีการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่อตรวจสอบ วันที่ 20-30 เมษายน กรมศิลปากรได้มอบให้สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 4 ปราจีนบุรีไปทำการขุดตรวจเป็นครั้งแรก ในการนี้ คณะทำงานฟื้นฟูเมืองเพนียตเป็นผู้อำนวยความสะดวกและสนับสนุนเรื่องแรงงาน

โบราณสถานเมืองเพนียด จันทบุรี
สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ค่าบริการ : เข้าชมฟรี
เวลาเปิด : เปิดให้เข้าชมได้ตลอด
การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7 กิโลเมตร
ลิงค์ แผนที่ : Google Map

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here