อู่ต่อเรือพระเจ้าตากหรืออู่ต่อเรือเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี

0
11432

อู่ต่อเรือพระเจ้าตากหรืออู่ต่อเรือเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี
————————
บันทึกภาพ 7 ‎มกราคม ‎2566

————————
อู่ต่อเรือพระเจ้าตาก เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญและสันนิษฐานว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใช้เป็นอู่ต่อเรือ เมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชชาติไทยเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ภายในอาคารแสดงนิทรรศการ ประวัติศาสตร์ต่างๆ

ภายหลังการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.๑๘๙๒ ปรากฎชื่อ เมืองจันบูรในฐานะเมือง ประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา มีการขยายเมืองจากบริเวณเขาสระบาป มาตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำและข้ามมายังฝั้งตะวันตกของแม้น้ำในราวรัชสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชในสมัยอยุธยานี้เป็นช่วงที่การค้าทางทะเลเฟื่องฟู่ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งทางตะวันตกและตะวันออก โดยใช้เส้นทางเดินเรือสำเภาเริ่มมาจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านเกาะสีชัง ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด แล้วแยกออกเป็นสองเส้นทาง ทางแถบตะวันออกเดินเลียบชายฝั่งทะเลไปเขมรญวน มุ่งสู่จีน หรือญี่ปุ่น อีกเส้นทางหนึ่งตัดอ่าวไทยที่เกาะช้าง เกาะกง มุ่งลงใต้สู่ปากน้ำชุมพร หรือปากน้ำนครศรีธรรมราชก่อนเดินทางตัดข้ามสู่ทะเลอันดามันทางบกหรือเดินเรืออ้อมแหลมมลายูทางช่องแคบมะละกาเพื่อติดต่อการค้ากับประเทศทางแถบตะวันตก

จันทบูรคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยอยุธยาเป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเลที่ตั้งลึกเข้ามาจากชายฝั่งประมาณ ๖ กิโลเมตร บรรดาเรือสำเภาสามารถเดินทางเข้ามาหลบมรสุมได้อย่างปลอดภัยทั้งยังเป็นปหล่งน้ำจืดและแหล่งเสบียงอาหารที่ดี ตลอดจนเป็นแหล่งที่มีผลิตผลซึ่งจัดเป็นสินค้าส่งออกที่สมบูรณ์ทำให้คนต่างถิ่นเดินทางเข้าออกอย่างสมำเสมอหรือเข้ามาตั้งถิ่นฐานผสมผสานกับคนท้องถิ่นสืบมา

จันทบูร เริ่มมีความสำคัญโดดเด่นขึ้นภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในปี พ.ศ.๒๓๑๐ เมื่อพระยาตากยกทัพเข้ามายึดเมืองจันทบูรเพื่อให้เป็นที่ตั้งมั่นต่อสู่กับกองทัพพม่า พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม)กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า ครั้น ณ วันจันทร์ จึงยกเข้ามาใกล้เมืองจันทบุรีฝ่ายพระยาจันทบูรก็ให้หลวงปลัดกับคนมีชื่อออกมานำทัพเป็นกลอุบายให้ทัพหลวงเลี้ยวไปทางใต้เมือง จะให้ข้ามน้ำไปอยู่ฟากตะวันออก จะคอยทำร้ายเมื่อพลทหารข้ามน้ำนั้น พระองค์ทรงทราบจึงให้นายบุญมีมหาดเล็กขึ้นม้าควบไปห้ามทหารกองหน้ามิให้ตามทางหลวงปลัดนำนั้น ให้กลับมากตามทางขวางตรงเข้าประตูท่าช้าง เสด็จประทับ ณ วัดแก้วริมเมืองจันทบุรี จึงให้พลทหารตั้งล้อมพระวิหารวัดแก้วแล้วเสด็จประทับอยู่ที่นั้น

ด้วยที่พระยากตากทรงเห็นว่า เมืองจันทบุรีเป็นหัวเมืองชายฝั่งที่ไม่ได้รับผลกระทบจากศึกพม่า เป็นแหล่งที่อดุมสมบูรณ์เด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเต็มไปด้วยผู้คนที่อพยพหนีภัยสงครามมา ซึ่งจะใช้เป็นกำลังได้ต่อไป และเป็นเมืองที่มีชาวจีนแต้จิ่วเข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมาก พระองค์เองก็มีเชื้อสายชาวจีน และเคยเป็นพ่อค้ามาก่อน พระองค์ขึงมุ่งหวังที่จะให้ชาวจีนเหล่านี้ช่วยเหลือดังนั้น เมือพระองค์ทรงเข้ายึดเมืองจันทบุรีได้แล้ว พระองค์จึงทรงรวบรวมพล สะสมเสบียงอาหารและยุทธปัจจัย โดยเฉพาะกองเรือที่จะใช้ลำเลียงกองทหารเพื่อกลับไปตีพม่า โดยส่วนหนึ่งพระองค์
ทรงยกทัพไปปราบบรรดาพ่อค้าเรือสำเภาที่เมืองตราด ทรงรวบรวมอยู่ประมาณ ๖ เดือนก็สามารถยกทัพเรือเข้ามาตีพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นในเมืองธนบุรีแตกลงได้และได้ทำการปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรี

ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา เมืองจันทบุรีมีบทบาทที่สำคัญในฐานะเป็นเมืองยุทธศาสตร์ ด้วยที่เป็นเมืองที่มีอาณาเขตติดต่อกับเขมร ซึ่งในขณนั้นเวียดนามเริ่มมีบทบาทเหนือลาวและเขมรมากขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ยกกองทัพเข้าเมืองนครราชสีมา แต่ถูกกองทัพทหารไทยปราบจนพ่ายแพ้ เจ้าอนุวงศ์ได้ขอให้กองทัพญวนเข้าช่วยเหลือ จึงเกิดสงครามระหว่างไทยกับญวนขึ้นเรียกว่า อานามสยามยุทธ ในครั้งนั้นกองทัพไทยได้ยึดเมืองไซ่ง่อนได้ในปี พ.ศ.๒๓๗๗ ครั้นเสร็จศึกญวนในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเหล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่า จันทบุรีเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญและล่อแหลม จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ บุนนาค)เป็นแม่กองสร้างป้อมค่าย โดยได้เลิกบริเวณบ้านเนินวง ซึ่งเป็นที่สูงแทนการสร้างที่เมืองเดิมซึ่งเป็นที่ลุ่ม
เรือรบที่ปลดระวางแล้วจอดให้ชมแต่ไม่อนุญาติให้ขึ้นไปบนเรือนะค่ะ


อู่ต่อเรือพระเจ้าตากหรืออู่ต่อเรือเสม็ดงาม จังหวัดจันทบุรี
สถานที่ตั้ง : บ้านเสม็ดงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 11 กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ 21 นาที
ลิงค์ แผนที่ : Google Map

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here