วัดพระอินทร์แปลง จังหวัดนครพนม

0
516

วัดพระอินทร์แปลง จังหวัดนครพนม

วัดพระอินทร์แปลง จังหวัดนครพนม
ประวัติวัดพระอินทร์แปลง

พุทธศักราช ๒๕๔๖ เดือน ๓ ขึ้น ๑๓ ค่ำ วัน ๖ ปีชาล พระครูอินทกัลยาณคุณ เจ้าอาวาส วัดพระอินทร์แปลงได้นำพาอุบาสก
อุบาสิกาทั่วสารทิศ บูรณปฏิสังขรณ์อุโบสถเครั้งใหญ่ จึกได้จารึก
ประวัติวัดพระอินทร์แปลง ใสหินเอาไว้ เพื่อให้ชนภายหลังได้ศึกษา สืบไปภายภาคหน้าแลฯ
ประวัติวัดพระอินทร์แปลง เมือครั้งอดีต นามว่า วัดอุมโมงค์ สาเหตุที่ใช้ชื่อวัดนี้มีเรื่องราวความเป็นมาว่า ราวปีพุทธราช
๑๓๙๓ เจ้าครูหน่อหลักคำสมภาร ประธานสงฆ์ พร้อมด้วยศรัทธาญาติโยมพุทธศาสนิกชนทุกหมู่ เห็นต้องกันทุกคน ปรารถสร้างพระประธานองค์ใหญ่ ประดิษฐานเอาไว้ในสิมอุโบสถแต่ปรากฏว่า หลอมอย่างไรก็ไม่ได้ตามประสงค์ พุทธลักษณะอื่นนั้นดีล้วนทุกประการ เสียอย่างเดียวคือพระเศียร หลอมอย่างไรก็ไม่ได้ จนหมดปัญญา ต้องพากันเลิกราไป ส่วนทองที่เหลือนั้นก็นำไปหลอมเป็นพระพุทธรูปองค์เล็ก หลายปาง หลายขนาด พอได้ไว้กราบไหว้ แทนไท้พระประธาน มีอุบาสกพร้ออุบาสิกามาเป็นเจ้าศรัทธาสร้างแต่ละองค์ แล้วจารึก แล้วจารึกไว้ในฐานพทธรูปว่า
” พุทธศักราชาได้ ๑๓๙๓ ตัว เดือน ๖ ขึ้น ๖ วัน ๖ ปีระกา มื่อเปกเหม่า มีปสกชายเป็นเจ้าสัทธา พระหน่อหลักคำเป็นรจนา”
ส่วน พระประธานใหญ่นั้น ไม่มีพระเศียรยังตั้งอยู่ ผู้ไดมาเห็นแล้ว ก็ไม่สบายใจ เกิดสังเวชหดหู่ยามเห็น เลยสร้างอุโมงค์ครอบซ่อนองค์พระเอาไว้ เหตุนี้แล จึงได้นามขานชื่อ วัด อุมโมงค์ตั้งแต่นั้นล่วงเลยมา ถึงพุทธศักราชได้ ๑๓๙๓ เจ้าครูหลักคำสมภารวัดได้บอกกล่าวให้ชาวพี่น้องมาพร้อมกัน เราพากันหลอมสร้างเศียรองค์พระพุทธรูปอีกครั้งดูนะ แล้วก็พากันหลอมหล่่อแต่เศียรพระองค์ท่าน หลอมอย่างได ก็ไม่ได้เหมือนเดิมนั้นแหละ จนเหน็ดเหนื่อยท้อแท้ ว่าจะเลิกลาไม่หลอมอีกแล้ว

ร้อนถึงไท้องค์อินทร์เทวราช แปลงเป็นชีปะขาว เสด็จลงถึงพื้น มาร่วมปุนแปลงสร้าง หลอมเศียรพระพุทรูป จึงได้เสร็จเรียบร้อยงามช้อยดั่งพระอินทร์ จากนั้นองค์เทพไท้ เสด็จหายหนีจาก เหาะขั้นฟ้าเป็นที่อัศจรรย์ คนทั้งหลายเหลียวหา ไม่เห็นฝุ่น พากันลือชาไว้ว่า เป็นไท้หน่อพระอินทร์ ลุล่วงได้พุทธศักราช ๑๖๓๗ เป็นเวลาเนิ่นนานล่วงเลยมาแล้วได้สองร้อยกว่าปีเป็นประมาณเจ้าอาวาสผู้ใหม่เข้ามาสืบต่อ เจ้าครู อุด สมภารองค์ใหม่ทั้งได้พากันหลอม พระพุทธรูปจำลองขึ้นมาเทียบข้าง ทั้งได้รู้ประวัติเก่าคราวหลังว่า พระอินทร์ลงมาช่วยปุนแปลงสร้าง นับแต่นั้นวัดนี้ จึงมีชื่อเรียกขานว่า วัดพระอินทร์แปลง ต่อมาจนเดี๋ยวนี้แล ฯ
ส่วนความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ ปาฎิหาริย์ ขององค์พระประธาน ไม่อาจนำมาคณาได้ ถ้าใครอยากรู้ให้ไปศึกษาในหนังสือประวัติ
พระครูอินทกัลยาณคุณ (วรชัย) รจนาไว้แล้ว เชิญไปหาอานเอาแล ฯ นิพานะ ปัจจะโย โหตุ ฯ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here