พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จันทบุรี

0
4665

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จันทบุรี
ภายในจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรือของไทย และมีห้องจัดแสดงเกี่ยวกับเมืองจันทบุรี ประวัติศาสตร์ของคนจันทบุรี

ตามเราไปชมด้านในกันเลยค่ะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จะมีทั้งหมด 2 ชั้น ไปที่ชั้น 2 ก่อนค่ะ
ชีวิตลูกเรือ
การค้าทางสำเภาของอาณาจักรอยุธยาในระยะแรกๆพ่อค้าชาวจีนเป็นผู้ที่มีบทบาทมากเนื่องจากเป็นผู้มี
ตวามชำนาญในการต่อเรือ เดินเรือและการค้าขาย ในสมัยอยุธยาพ่อค้าจีนได้รับความเชื่อถือและได้รับสิทธิประโยชน์
จากราชสำนักอยุธยามากมาย โดยเฉพาะรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงกับมีการตรากฎหมายศักดินาให้แก่ชาวจีนที่ทำงานในสำเภาหลวงด้วย ในเรือสำเภาลำหนึ่งจะประกอบไปด้วยพนักงานประจำเรือ(จุ้นจู๊)มีหน้าที่เป็นนายเรือ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในสินค้าทั้งหมด จะซื้อขายอย่างไรก็ได้ “ต้นหน”หรือผู้นำร่อง (ฮอจ่าง) จะทำหน้าที่ดูแลงานทั่วไป ส่วนการควบคุมบัญชีนั้นเป็นหน้าที่ของ”ล้าต้า “คนถือท้ายเรือ “ไต้ก๋ง”

นอกจากนี้ยังมีพนักงานช่างไม้ คนครัวและอื่นๆ ส่วนอีกพวกหนึ่งเป็นชั้นหัวหน้า เรียกว่า “เท่ามัก”มีอยู่ ๒-๓ คน มีหน้าที่ดูแลสมอในเรือและอื่นๆ ส่วนอีกพวกเป็นคนเรือชั้นเลวทำหน้าที่ถอนสมอ ชักใบและลดใบและงานกุลีต่างๆ พนักงานในเรือทุกคนยกเว้นพวกคนเรือชั้นเลวจะมีห้อง “บาหลี”สำหรับตนเอง เป็นห้องขนาดเล็กแคบอุดอู้ ยืนไม่พ้นศีรษะ ถ้าใครที่โดยสารเรือสำเภาต้องการจะอยู่บนบาหลีสำหรับนอนก็ต้องเช่าจากเจ้าของเป็นการส่วนตัวจะให้หรือไม่ให้จะถูกหรือแพงก็แล้วแต่เจ้าของบาหลีจะตกลงพนักงานในเรือยังมีสิทธิบรรทุกสินค้าไปขายหรือซื้อสินค้ามาจำหน่ายเป็นส่วนตัวได้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้เนื่องจากเดินทางไปค้าขายในแต่ละครั้งใช้ระยะเวลายาวนาน จึงต้องมีการเตรียมเสบียงอาหารและน้ำจืดให้เพียงพอ อาหารที่นำไปด้วยก็เป็นพวกข้าวสารอาหารแห้งต่างๆ ที่สามารถเก็บไว้ได้นานๆ และเพื่อเป็นการประหยัดเสบียงอาหารไว้จนกว่าจะถึงจุดหมายหรือจนกว่าจะหามาเพิ่มได้ในระหว่างทางก็คงจะมีการหาอาหารไปด้วยเช่น การตกปลาหรือทอดแห เป็นต้น และมีข้าวของเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตต่างๆอีกเช่น จาน ชาม หม้อ ไห เครื่องครัวสำหรับหุงหาอาหารบนเรือ นอกจากจะมีข้าวจองเครื่องใช้เพื่อความเป็นอยู่แล้วยังมีสิ่งที่ใช้ในการนันทนาการเช่น เครื่องดนตรี การละเล่นต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและเพื่อความบันเทิงในเวลาว่างของลูกเรือ ซึ่งนี้ก็คือดำเนินชีวิตในเรือที่มิได้เป็นเพียงพาหนะ ในการเดินทางไปค้าขายเพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นทั้งบ้านสำนักงานของลูกเรืออีกด้วย


โบราณวัตถุ

งานโบราณคดีใต้น้ำ

นิทรรศการเรือของไทย


หมากขุม
เป็นกีฬาพื้นเมืองประเภทเมืองประเภทกีฬาในร่มนิยมเล่นกันทั้งระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งในทวีปและแอฟริกา
วิธีการเล่นต่างกันไปในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่นิยมเล่นกันในภาคใต้ของประเทศไทย ชาวภาคใต้เรียกว่า “หมากขุม”
หรือ “หมากหลุม”นิยมเล่นกันในหมู่เด็กและผู้ใหญ่ เป็นกีฬาที่แข่งความสามารถกันเฉพาะตัว ช่วยให้ผู้เล่นได้ฝึกใช้สมองฝึกการคิดคำนวณและช่วยสร้างความคุ้นเคยเช่นกัน
อุปกรณ์
รางหมากขุมและลูกหมากขุม ลูกหมาก นิยมใช้เมล็ดสวาด ซึ่งมีลักษณะกลมรีเปลือกแข็งเป็นสีเทาเจือเขียว อาจใช้เมล็ดพืชอย่างอื่นที่มีขนาดปละลักษณะใกล้เคียงกันได้ เช่น เมล็ดมะขามสุก บางทีก็ใช้ดินเหนียวทำเป็นลูกธนูแล้วตากแห้งแต่ไม่นิยมเพราะไม่ทนและเปื้อนมือง่าย ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกแก้วแทน
วิธีการเล่น
1.ผู้เล่นสองคน นั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ 7 ลูกทั้ง 7 หลุม(ยกเว้นหลุมเมืองไม่ต้องใส่)
2.การเดินหมากให้เดินจากขวาไปซ้าย อาจเริมเล่นพร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย เรียกว่า “แข่งเมือง”หรือให้ฝ่ายหนึ่งเริ่มเล่นก่อนโดยเริ่มจากการหยิบหมากจากหลุมใดก็ได้ในด้านของตนเองขึ้นมาทั้งหมด จากนั้นทิ้งลูกหมากลงในหลุมถัดไปหลุมละหนึ่งเม็ดเมื่อหมากตัวสุดท้ายตกลงที่หลุมได ก็หยิบหมากจากหลุมนั้นขึ้นมาให้หมดแล้วเดินต่อไป จนกระทั้งหมากตัวสุดท้ายตกในหลุมว่างของฝั่งตรงข้ามถือว่า”ตาย”กรณีที่หมากตัวสุดท้ายตกในหลุมว่างในแดนตนเอง ถ้าหลุมตรงข้ามมีหมากในหลุมก็ให้เอาหมากในหลุมที่ตายของตนเองและหลุมตรงข้ามใส่ในหลุมหัวเมืองของตนเอง เรียกว่า “กิน” ถ้าหมากตัวสุดท้ายของตนเองตกในหลุมหัวเมืองให้เริ่มต้นเดินใหม่จากหลุมใดก็ได้ในด้านของตนเอง เล่นจนหลุมเมืองของฝ่ายหนึ่งหมดหมาก เดินไปไม่ได้ จึงเริ่มเล่นตาต่อไป


คลังโบราณวัตถุ
คลังโบราณวัตถุ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ เป็นสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุที่มีรูปแบบซ้ำกันเป็นจำนวนมากเป็นทั้งที่เก็บสำรองโบราณวัตถุ เพื่อใช้ในการสับเปลี่ยนในห้องจัดแสดง คลังจึงต้องเป็นสถานที่ที่เก็บรักษษโบราณวัตถุได้อย่างปลอดภัยจากโจร อัคคีภัย และภัยธรรมชาติ

คลังในพิพิธภัณฑ์รุ่นแรกๆมักจะเป็นห้องปิดอยู่ภายในอาคาร ไม่เปิดให้บุคคลภายนอกได้เห็นหรือเข้าไปใช้บริการ
ในปัจจุบัน คลัง นอกจากจะเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ ยังได้เพิ่มหน้าที่เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและวิจัย รูปแบบและลักษณะของคลังจึงเปลี่ยนจากที่เคยเป็นห้องปิดภายในอาคาร กลายมาเป็นห้องที่เปิดให้เห็นการจัดเก็บโบราณวัตถุภายในและยังเปิดให้เข้าไปทำการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการได้อีกด้วยคลังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จึงเป็นคลังที่ใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษษได้อย่างมีประสิทธิภาพมีการจัดเก็บดูแลรักษาโบราณวัตถุอย่างเป็นระบบปลอดภัยและยังคงหน้าที่ในเป็นที่เก็บรักษาสมบัติของชาติไว้ได้เช่นเดิม
ประทุนเรือ หรือเก๋งเรือ
ขนาด : ยาว ๓๖๒ เซนติเมตร กว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร สูง ๙๔ เซนติเมตร
วัสดุ : ไม่สัก
รูปแบบศิลปะ : สมัยรัตนโกสินทร์
ที่มา : ไม่ทราบประวัติความเป็นมา ย้ายมาจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเรือราชพิธี กรุงเทพมหานครเมื่อ
เดือนมกราคม พุทศักราช ๒๕๔๔
ลักษณะ: หลังคาเรือมีลักษณะโค้งมน ด้านข้างมีช่องหน้าต่างด้านละ ๓ ช่อง ระหว่างช่องหน้าต่างประดับ
ด้วยเสาลูกมะหวด ด้านละ ๖ ต้น ด้านหน้าเปิดโล่ง ด้านหลังทำเป็นฝากระดานปิด เจาะเป็นช่องหน้าต่าง ๑ ช่อง
ข้างช่องหน้าต่างทำเป็นลายบานเก็จ ๒ ข้าง
ประทุนเรือ หรือเก๋งเรือ คือ หลังคาเรือมักใช้ประกอบกับเรือมาดเรียกว่าเรือมากประทุนหรือ
เรือมาดเก๋งนอกจากนี้ยังใช้ประกอบกับเรือหางแมงป่องหรือเรือแม่ปะและเรือสามเกล้าหรือเรือ
สามก้าวด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ทรงโปรดฯ ให้ใช้เรือมาดประทุนและเรือมาดเก๋ง
ในการเสด็จประพาสต้นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๗

เรือขุดโบราณ
ขนาด: ยาว ๙๒๑ เซนติเมตร
วัสดุ :ไม้ตะเคียน
รูปแบบศิลปะ : สมัยรัตนโกสินทร์
ที่มา : ได้มาจากแม่น้ำบริเวณสะพานพระพุทธยอดฟ้า พระวิสุทธิโสภณ เจ้าอาวาสวัดดุสิตาราม
กรุงเทพมหานคร มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือราชพิพี เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖
และเคลื่อนย้ายมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแก่งชาติพาณิชย์นาวี จันทบุรี เมื่อเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ลักษณะ เป็นเรือโกลน ( ไม้ทั้งท่อนที่ถูกฟันถากและขุดออกเป็นรูปทรงเรือ)มีการขุดลำรางตามความยาว
ของเส้นมาดแล้ว แต่ยังไม่ได้ทำการเบิกปากเรือให้กว้าง
ขั้นตอนการทำเรือขุดแบบโบราณ
การฟันเรือ(โกลน) คือ การเตรียมซุง(ท่อนไม้)ให้ได้ตามความยาวที่ต้องการใช้ขวานฟันถากเปิดปากเรือ
ขุดภายในให้เป็นลำรางคล้ายรางข้าวหมู แล้วพลิกคว่ำเอาด้านท้องเรือขึ้น ฟันถากหัว ท้ายให้แหลมเป็นรูปหัวเรือ
ท้ายเรือ เรียกว่า ฟันแก้มหมู เมื่อหงายเรือขึ้นจะได้รูปทรงเรือ เรียกว่า เรือโกลน

การเบิกเรือ คือ การตัดแบะ ขยายถ่างกราบเรือให้กว้างออก โดยการนำเศษไม้เปลือกไม้ สุมไฟในสำรอง
ที่ขุดไว้ตามแนวความยาวตลอดลำเรือ แล้วพลิกควำเรือ ลนไฟให้ความร้อนทั้งลำเรือ หลังจากนั้นหงายเรือขึ้น ทำการ
เบิกเรือโดยการใช้ไม้ปากกา(รูปร่างคล้ายกรรไกร) ขัดกราบเรือทั้งสองข้าง แล้วใช้ไม้ค้ำกราบเรือทิ้งไว้จนเนื้อไม้
เย็นตังลง จึงปล่อยไม้ปากกาและไม้ค้ำออก การเบิกปากเรือนี้ต้องค่อยๆ ทำ และทำหลายๆ ครั้งเมื่อกราบเรือแบาะ
ออกแล้วจะทำให้กัวเรือ ท้ายเรือ ตัดยกสูงขึ้นกลายเป็นทวนหัว-ทวนท้ายเรือ แล้วจึงถากตกแต่รายละเอียดอีกครั้ง

เรือขุดที่มีใช้ในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายประเภท เช่น เรือมาศ เรือชะล่า เรือผีหลอก เรืออีโปง
เรือพายม้า เรือหมู เรือหางแมงป๋อง(แม่ปะ) เรือยาว เป็นต้น ซึ่งพอพบเห็นได้บ้างแถบจังหวัดภาคกลาง เช่น
พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิจิตร อ่างทอง เป็นต้น

ปัจจุบันการทำเรือขุดแบบโบราณแทบไม่มีให้เห็นแล้ว อาจเนื่องมาจากไม่สามารถหาซุง (ท่อนไม้)ที่มี
ขนาดใหญ่มาใช้ทำเรือได้ ประกอบกับการคมนาคมทางน้ำลดความสำคัญลงไป ส่วนเรือที่ใช้อยู่ก็เปลี่ยน
วัสดุจากไม้ไปใช้เหล็กหรือไฟเบอร์กลาสแทน

ห้องจัดแสดงเกี่ยวกับเมืองจันทบุรี ประวัติศาสตร์ของคนจันทบุรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พาณิชย์นาวี จันทบุรี
สถานที่ตั้ง : 80 หมู่ 8 ภายในโบราณสถานค่ายเนินวง ต.บางกะจะ อ.เมืองจันทบุรี จ.จันทบุรี
เวลาเปิด : เปิดให้เข้าชม 9.00-16.00น. พุธ-อาทิตย์ (ปิดจันทร์และอังคาร)
โทรศัพท์ : 039 391 431
การเดินทาง : อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร
ลิงค์ แผนที่ : Google Map

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here